ลำดับที่ | คำศัพท์ | คำอ่าน | คำแปล / ความหมาย |
๑ | Taekwondo | เท ควัน โด | ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว และกีฬาประจำชาติของชาวเกาหลี
เท หมายถึงการใช้เท้า
ควัน หมายถึงการใช้มือโด หมายถึงวิถีทาง ความคิด สติปัญญา |
๒ | Dojang | โดจัง | สำนัก หรือโรงฝึกเทควันโด |
๓ | Kwanjangnim | ควานจังนิม | เจ้าสำนัก หรืออาจารย์ใหญ่ |
๔ | Saboemnim | ซา บม นิม | อาจารย์ (ดั้ง ๔ ขึ้นไป) |
๕ | Kyosahnim | เคียวซานิม | อาจารย์ผู้ช่วย |
๖ | Jaeja | เจจา | ศิษย์ นักเรียน |
๗ | Yudanja | ยูดันจา | นักเทควันโดชั้นสายดำ |
๘ | Mudanja | มูดันจา | นักเทควันโดชั้นสายสี |
๙ | Choboja | โชโบจา | นักเทควันโดชั้นสายขาว (ผู้เริ่มต้นฝึก) |
๑๐ | Sunbaenim | ซุนเบนิม | ผู้อาวุโสกว่า หรือรุ่นพี่ (Senior) |
๑๑ | Whobae | ฮูเบ | ผู้อ่อนอาวุโสกว่า หรือรุ่นน้อง (Junior) |
๑๒ | Kukki(-ae) | กุกกิ(-เอ) | ธงชาติ ซึ่งประดับอยู่หน้าชั้นเรียน อาจารย์และนักเรียน ทุกคนจะต้องทำความเคารพก่อน และหลังการฝึก โดยใช้ คำสั่งบอกแถว “กุกกิเอ เดฮาโย่ เคียงเง่” |
๑๓ | Dan | ดาน | ดั้ง หมายถึงคุณวุฒิของผู้ฝึกเทควันโดในระดับสายดำ
แบ่งเป็น ๑๐ ระดับ จาก ดั้งที่ ๑ ถึงดั้งที่ ๑๐ ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักกุกกิวอน (สำนักงานใหญ่เทควันโดโลก) การสอบเลื่อนขั้น
เป็นไปตามระเบียบของสำนักกุกกิวอน |
๑๔ | Poom | พูม | คุณวุฒิของนักเทควันโดสายดำที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จะคาดสายดำ-แดง ครึ่งบนเป็นสีดำ ครึ่งล่างเป็นสีแดง แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ พูม ๑ ถึง พูม ๓ เมื่ออายุครบ ๑๕ ปี ก็เปลี่ยนเป็นคาดสายดำ |
๑๕ | Gup | กึบ | คุณวุฒิของผู้ฝึกเทควันโดระดับต่ำกว่าสายดำ เริ่มจากสายขาว และสายสีต่างๆ ซึ่งแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันบ้าง โดย ทั่วไปมี ๙ ถึง ๑๑ ขั้น ในประเทศไทยนิยมเรียงดังนี้
ขาว, เหลือง(๑-๒), เขียว(๑-๒), ฟ้า(๑-๒), น้ำตาล(๑-๒) และ แดง(๑-๒) |
๑๖ | Charyeot | แชเรียต | ท่ายืนตรง ปลายเท้าชิด แขนแนบลำตัว |
๑๗ | Kyeong-rye | เคียงเง่ | คำนับ ก้มศีรษะโน้มตัวไปข้างหน้า |
๑๘ | Jwawoo-hyangwoo | จวาวูยางวู่ | หันเข้าหากัน ถ้าสั่งซ้ำให้หันกลับมา
(Jwa ซ้าย Woo ขวา Hyangwoo หัน) |
๑๙ | Dwiro Dora | ดิโร โดระ | กลับหลังหัน (หมุนไปทางด้านขวา) |
๒๐ | Joonbi /
Gibon Joonbi | จุนบี หรือ
กิบอน จุนบี | ท่าเตรียม แยกเท้าซ้ายห่าง ๑ ฝ่าเท้า ยกมือทั้งสองขึ้น
ถึงระดับลิ้นปี่ ในลักษณะแบหงายมือแล้วกำหมัดลดลงจนอยู่
หน้าท้องน้อย |
๒๑ | Chagi Joonbi /
Kyorumsae | ชากิจุนบิ หรือ
เคียรึมเซ่ | ท่าตั้งการ์ดเตรียมต่อสู้ ถอยเท้าข้างหนึ่งไปข้างหลัง
ประมาณ ๑ ก้าวย่อเข่าลงเล็กน้อยกำหมัดยกขึ้นการ์ด ระดับอก (ในการแข่งขันแบบต่อสู้จะสั่ง จุนบี เฉยๆ) |
๒๒ | Momtong Jireugi Joombi Juchumsae | มมทงจีรึกิ จุนบี จูชุมเซ่ | ท่าเตรียมออกหมัดชก แยกเท้าซ้ายออกไปด้านข้าง
ประมาณ ๒ ฝ่าเท้าย่อเข่าลงเท่าๆ กันแล้วออกหมัดชก
ระดับลิ้นปี่
(มีรูปแบบขั้นตอนในการออกหมัดชกหลายแบบ) |
๒๓ | Kihap /
Yell | คิฮัฟ หรือ
เยล | การร้องเปล่งเสียงดัง “อีย่า” หรือ “เอี้ย” ให้เสียงก้องกังวาน ใช้ประโยชน์ในการรวบรวมส่งพละกำลัง ข่มขวัญคู่ต่อสู้เกิดความพร้อมเพรียงในการฝึกร่วมกัน |
๒๔ | Shijak | ชีจั๊ก | เริ่ม (การต่อสู้หรือการแสดง) ได้ |
๒๕ | Kalyeo | คัลเลียว | แยก |
๒๖ | Kaesok | เคโซะ | (ต่อสู้) ต่อไป |
๒๗ | Geuman | คือมาน | หยุด จบ หรือสิ้นสุด |
๒๘ | Baro | พะโร / บาโร | กลับที่เดิม กลับสู่ท่าเริ่มต้น |
๒๙ | Shio | ชิโอะ | หยุดพัก |
๓๐ | Shigan | ชิกัน | ขอเวลานอกเพื่อจัดเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย |
๓๑ | Kyeshi | เคชิ | หยุดเวลาแข่งขัน ๑ นาทีเพื่อปฐมพยาบาลนักกีฬาที่บาดเจ็บ |
๓๒ | Undong Gutt /
Choyu Gutt | อุนดงกุ้ด หรือ
โชยูกุ้ด | เลิกชั้นเรียน |
๓๓ | Olgul | โอลกุล | ส่วนบนของร่างกายตั้งแต่แนวกระดูกไหปลาร้าขึ้นไปถึงศีรษะ |
๓๔ | Momtong | มม ทง | ส่วนกลางของร่างกายตั้งแต่แนวกระดูกไหปลาร้า
ลงมาถึงแนวกระดูกเชิงกรานด้านหน้า(ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย) |
๓๕ | Arae | อะเร | ส่วนล่างของร่างกาย |
๓๖ | Poomsae | พูมเซ่ | ท่ารำ หรือท่าที่ใช้ในการต่อสู้แบบต่างๆ |
๓๗ | Kyorugi | เคียรูกิ | การประลองต่อสู้กัน อาจใช้ท่าตามแบบฝึก หรือแบบอิสระ
ที่ใช้ในการแข่งขัน ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบกติกา |
๓๘ | Kyeakpa | เคียกพ่า | การทำลายวัสดุด้วยส่วนต่างๆ ของร่างกาย |
๓๙ | Hoshinsul | โฮชินซึล | ท่าการป้องกันตนเองในระยะประชิด |
๔๐ | Moa Seogi | โมอา เซอกิ | ท่ายืนตรงปลายเท้าชิดกัน |
๔๑ | Naranhi Seogi | นารานฮิ เซอกิ | จากท่ายืนตรงแยกเท้าซ้ายออกด้านข้าง ๑ ฝ่าเท้าให้ปลาย
เท้าทั้งสองขนานชี้ตรงไปข้างหน้า |
๔๒ | Juchum Seogi | จูชุม เซอกิ | ฮอร์สไรดิงสแตนซ์ (Horse riding stance) หรือท่าขี่ม้า เท้าซ้ายแยกออกด้านข้าง ๒ ฝ่าเท้า ย่อเข่าลง |
๔๓ | Apseogi | อัพเซอกิ | วอล์คกิงสแตนซ์ (Walking Stance) หรือท่าเดินปกติ ก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าว เข่าตรง |
๔๔ | Apkubi | อัพกูบิ | ฟอร์เวิร์ดสแตนซ์ (Forward Stance) หรือท่าเดินยาว ก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าวครึ่ง เท้าแยกห่างด้านข้าง ๑ ฝ่าเท้า เข่าหน้าย่อลง ขาหลังตึง |
๔๕ | Dwitkubi | ดิทกูบิ | แบคสแตนซ์ หรือท่าเดินหนักเท้าหลัง เท้าทั้งสองอยู่บน เส้นตรงเดียว ปลายเท้าหน้าชี้ตรง ปลายเท้าหลังชี้ออกข้าง ๙๐ องศา เท้าห่าง ๑ ก้าว เข่าทั้งสองย่อลง |
๔๖ | BeomSeogi | บอมเซอกิ | ไทเกอร์สแตนซ์ หรือท่าเสือ เท้าหน้าห่างเท้าหลังแค่ ส้นเท้าต่อปลายเท้า เท้าหน้าเขย่งขึ้นสุด เท้าหลังเฉียงออกข้าง ๓๐ องศา เข่าย่อทั้งสองข้าง น้ำหนักอยู่เท้าหลัง ๙๐ – ๑๐๐ เปอร์เซนต์ |
๔๗ | HakdariSeogi | ฮักดาริ เซอกิ | เครนสแตนซ์ หรือท่ากระเรียน
ยืนขาเดียวโดยยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นมาให้ข้างเท้า
ชิดติดกับข้างหัวเข่าของขาที่ยืน ย่อเข่าเท่าท่าขี่ม้า |
๔๘ | Jireugi | จีรึกิ | การชกด้วยหมัด |
๔๙ | Chigi | ชิกิ | การใช้มือทุบ ฟาด หรือฟัน |
๕๐ | Chireugi | ชีรึกิ | การใช้ปลายนิ้วแทง |
๕๑ | Makki | มักกิ | การใช้แขนปัดป้อง |
๕๒ | Chagi | ชากิ | การเตะ ถีบ |
๕๓ | Olrigi | โอลริกิ | การเตะโดยเข่าเหยียดตรง คือการเหวี่ยงไปทั้งท่อนขา |
๕๔ | Jumeok | จูม็อก | หมัด ใช้สันหมัดของนิ้วชี้และนิ้วกลางกระทบเป้าหมาย |
๕๕ | Deungjumeok | ดึงจูม็อก | หลังหมัด |
๕๖ | Mejumeok | เมจูม็อก | กำหมัด ใช้ด้านนิ้วก้อยทุบลง |
๕๗ | Pyonjumeok | เปียนจูม็อก | กำหมัดโดยงอเพียงครึ่งเดียวใช้ข้อกลางของนิ้วทั้งสี่ |
๕๘ | Sosumjumeok | โซซัมจูม็อก | กำหมัดให้ข้อนิ้วกลางยื่นออกมา |
๕๙ | Jibkejumeok | จิบเก้จูม็อก | กำหมัดโดยกางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออกคล้ายตะขอ |
๖๐ | Sonnal | ซนนัล | สันมือมีด เหยียดนิ้วออกนิ้วทั้งสี่ชิดเกร็ง นิ้วหัวแม่มืองอลงมา |
๖๑ | Sonnaldeung | ซนนัลดึง | สันมือมีดด้านนิ้วชี้ |
๖๒ | Sonkeut | ซนกึด | มือหอก ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง เกร็งชิดกันแทงเป้าหมาย |
๖๓ | Hansonkkeut | ฮันซนกึด | ใช้ปลายนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว |
๖๔ | Kawisonkkeut | กาวิ ซนกึด | ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลาง |
๖๕ | Agwison | อากวิซน | ง่ามนิ้วหัวแม่มือกางออกเป็นรูปโค้งเสี้ยวพระจันทร์ |
๖๖ | Batangson | บาทังซน | กระดกข้อมือขึ้นงอข้อนิ้วทั้งห้า ใช้ส้นมือกระแทก |
๖๗ | Komson | คมซน | กำหมัดใช้ด้านฝ่ามือตบ |
๖๘ | Kuppinsonmok | คุพพินซนมก | จีบปลายนิ้วเข้าหากัน คว่ำมือลง ใช้หลังมือตรงกระดูกปลายแขนตรงข้อมือกระแทก |
๖๙ | Bakkatpalmok | บากัตพัลมก | ท่อนแขนด้านนอก (ด้านนิ้วก้อย) |
๗๐ | Anpalmok | อันพัลมก | ท่อนแขนด้านใน (ด้านหัวแม่มือ) |
๗๑ | Deungpalmok | ดึงพัลมก | ท่อนแขนด้านหลัง (ด้านหลังมือ) |
๗๒ | Mitpalmok | มิทพัลมก | ท่อนแขนด้านหน้า (ด้านฝ่ามือ) |
๗๓ | Palkup | พัลกุพ | ศอก |
๗๔ | Mureup | มูเริพ | เข่า |
๗๕ | Apchuk | อัพชุก | จมูกเท้า (ส่วนที่ใช้เวลาเขย่งเท้า) |
๗๖ | Dwichuk | ดิทชุก | ฝ่าเท้าด้านหลัง |
๗๗ | Balkkeut | บัลกึด | ปลายนิ้วเท้า ใช้จิก |
๗๘ | Balnal | บัลนัล | สันด้านนอกเท้า |
๗๙ | Balnaldeung | บัลนัลดึง | สันแปด้านในเท้า |
๘๐ | Baldeung | บัลดึง | หลังเท้า |
๘๑ | Dwikkumchi | ดิทคุมชิ | ส้นเท้า |
๘๒ | Taegeuk | เทกุค | ๑. จักรวาล เอกภพ อันไม่มีที่สิ้นสุด
๒. ธงชาติเกาหลี
๓. ในเทควันโดหมายถึงท่ารำมาตรฐานสำหรับนักเทควันโด
ในระดับต่ำกว่าสายดำ มีด้วยกัน ๘ ชุด |
๘๓ | Palgwe | พัลเก | ๑. ทิศทั้ง ๘ หรือธาตุในธรรมชาติ ๘ ชนิด
๒. ในเทควันโด หมายถึงท่ารำชุดดั้งเดิม ๘ ชุด
ยังมีบางประเทศ บางสำนักฝึกอยู่ |
๘๔ | Koryo | โคเรีย/คอร์โย | ท่ารำของสายดำดั้ง ๑ หมายถึงนักรบหนุ่มผุ้มุ่งมั่นฝึกฝน
และเพิ่มพูนประสบการณ์ |
๘๕ | Keumgang | กึมกัง | ท่ารำของสายดำดั้ง ๒ หมายถึงภูเขากึมกังอันศักดิ์สิทธิ์
ที่ตำนานกล่าวว่าเป็นที่อาศัยของยักษ์ที่ทำหน้าที่แบกโลก |
๘๖ | Taebaek | เทเบ็ก | ท่ารำของสายดำดั้ง ๓ หมายถึง ถิ่นกำเนิดของชาวเกาหลี
ตำนานกล่าวว่าอยู่ที่บริเวณภูเขาไฟเบคดูในเกาหลีเหนือ
ซึ่งตันกุน ปฐมกษัตริย์ของเกาหลีก่อตั้งประเทศเป็นครั้งแรก |
๘๗ | Pyongwon | เพียงวอน | ท่ารำของสายดำดั้ง ๔ หมายถึง ที่ราบ ทุ่งกว้าง |
๘๘ | Sipjin | ซิบจิน | ท่ารำของสายดำดั้ง ๕
หมายถึง เลข ๑๐ สิบสิ่งสัญลักษณ์แห่งอายุยืนยาว |
๘๙ | Jitae | จิเท | ท่ารำของสายดำดั้ง ๖
หมายถึง มนุษย์ยืนหยัดบนพื้นโลก มองขึ้นสู่ท้องฟ้ากว้าง |
๙๐ | Chonkwon | ชองกวอน | ท่ารำของสายดำดั้ง ๗ หมายถึง พลังอันยิ่งใหญ่แห่งสวรรค์ |
๙๑ | Hansu | ฮันซู | ท่ารำของสายดำดั้ง ๘
หมายถึง น้ำ การไหลเวียนที่ไม่สิ้นสุด |
๙๒ | Ilyeo | อิลโย | ท่ารำของสายดำดั้ง ๙
หมายถึง กายและใจรวมเป็นหนึ่งเดียว |